messager
folder ฐานข้อมูล ภูมิปัญญาท้องถิ่น
การออกแบบเครื่องจักสาน ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขา ด้านหัตถกรรม
- ที่อยู่ที่เรียนรู้ภูมิปัญญา : 15 หมู่ 3 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี - ชื่อปราชญ์ชาวบ้าน/กลุ่มภูมิปัญญา : นายปัญญา เเก้วหอม - ความเป็นมา ชาวตำบลท่าหลวงอาศัยอยู่ในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำป่าสักจึงทำให้มีอาชีพประมงพื้นบ้านในครัวเรือนมาแต่โบราณ และเครื่องมือหาปลาส่วนใหญ่ทำจากวัสดุธรรมชาติได้ในท้องถิ่นชุมชนท่าหลวง เครื่องจักสานที่ชุมชนบ้านท่าหลวงสร้างขึ้นมา จากการที่ได้สร้างขึ้นด้วยฝีมือประณีตของชาวบ้าน เพื่อประโยชน์ต่างๆจึงกลายเป็นอาชีพส่วนหนึ่งในชีวิตประจำวันของชุมชนบ้านท่าหลวง
เครื่องจักสาน และเครื่องมือหาปลา




สานตะกร้า ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขา ด้านหัตถกรรม
- ที่อยู่ที่เรียนรู้ภูมิปัญญา : ชุมชนบ้านท่าหลวง - ชื่อปราชญ์ชาวบ้าน/กลุ่มภูมิปัญญา : เทศบาลตำบลบ้านท่าหลวง - ความเป็นมา การจักสานเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านท่าหลวง และเป็นเครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันของชาวบ้าน ซึ้งมีประโยชน์ในการดำรงชีวิตและได้มีการพัฒนาตลอดเวลาโดยอาศัยการถ่ายทอดความรู้จากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง อาศัยวิธีการฝึกหัดและบอกเล่า สะท้อนให้เห็นการเรียนรู้ที่สะสมที่สือทอดกันมาจากอดีตมาถึงปัจจุบัน
สานตะกร้า


การทำไม้กวาดอ่อนและไม้กวาดทางมะพร้าว ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขา ด้านหัตถกรรม
- ที่อยู่ที่เรียนรู้ภูมิปัญญา : วัดท่าหลวง หมู่ 3 ตำบลท่าหลวง จังหวัดลพบุรี - ชื่อปราชญ์ชาวบ้าน/กลุ่มภูมิปัญญา : นายไพศาล คงเจริญ - ความเป็นมา ไม้กวาด เป็น อุปกรณ์สำหรับใช้ในการทำความสะอาดที่อยู่คู่กับคนไทยมาช้านานทุกบ้านในประเทศไทยต้องมีไม้กวาด ไม้กวาดเกิดจากภูมิปัญญาชาวบ้าน ซึ่งเป็นพื้นความรู้ ความสามารถที่ได้รับการสั่งสมถ่ายทอดกันมาช้านานในทุกชุมชนของประเทศไทย รวมถึงชาวตำบลท่าหลวงด้วยเช่นกัน ไม่ว่าไม้กวาดดอกหญ้า ไม้กวาดทางมะพร้าว และไม้กวาดจากวัสดุอื่นที่หาได้ในท้องถิ่น
การทำไม้กวาดอ่อนและไม้กวาดทางมะพร้าว






ประมงพื้นบ้านริมเขื่อน ภูมิปัญญาด้านการเกษตร สาขา ด้านเกตรกรรม
- ที่อยู่ที่เรียนรู้ภูมิปัญญา : หมู่ 3 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี - ชื่อปราชญ์ชาวบ้าน/กลุ่มภูมิปัญญา : กลุ่มชาวบ้านประมงริมเขื่อน - ความเป็นมา ประมงพื้นบ้านริมเขื่อน ตามภูมิศาสตร์แต่เดิมชาวท่าหลวงอยู่ในเขตลุ่มน้ำป่าสักและได้ทำประมงพื้นบ้านริมแม่น้ำป่าสักมาตลอดหลายชั่วอายุคน แต่เมื่อมีการสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ขึ้น การประในพื้นที่ก็ปรับเปลี่ยนเป็นการประมงริมเขื่อน ซึ่งก็ยังคงเป็นอาชีพที่พี่น้องชาวตำบลท่าหลวง และพื้นที่ใกล้เคียงยังคงทำเป็นทั้งอาชีพหลักและอาชีพเสริมมาจนถึงปัจจุบัน และยังคงต่อยอดไปในการถนอมอาหารจากปลา และการจัดทำเครื่องจักสานที่ใช้ในการประมงด้วย
ประมงพื้นบ้านริมเขื่อน



การทำดินเพาะปลุก ประเภทภูมิปัญญาท้องถิ่น สาขา ด้านอุตสาหกรรม
- ที่อยู่ที่เรียนรู้ภูมิปัญญา : ที่ทำการผู้ใหญ่ หมู่ที่9 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี - ชื่อปราชญ์ชาวบ้าน/กลุ่มภูมิปัญญา : นายเสน่ห์ บุญมาชัย - ความเป็นมา ตำบลท่าหลวงมีการทำเกษตรกรรมมาช้านาน พืชหลักสำคัญได้แก่ อ้อย มันสำปะหลัง ฯลฯ แต่ด้วยการใช้ดินปลูกพื้นเชิงเดียวมาเป็นระยะเวลานาน ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ เกิดปัญหาการปลูกพืชไร่ไม่ได้ผลดีดังเดิม เทศบาลตำบลบ้านท่าหลวงเล็งเห็นปัญหาดังกล่าวจึงได้จัดทำโครงการทำดินเพาะปลูกร่วมกับชุมชนหมู่ 9 ต่อเนื่องมาเป็นประจำทุกปีจนกระทั่งชุมชนหมู่ 9สามารถดำเนินกิจกรรมการทำดินเพาะปลูกได้เอง และสามารถต่อยอดทำดินเพาะปลูกขายได้พร้อมทั้งทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ในปัจจุบันได้อีกด้วย
การทำดินเพาะปลุก





การประดิษฐ์กระทงจากใบตอง ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านอื่นๆ (ประเพณีวัฒนธรรม)
- ที่อยู่ที่เรียนรู้ภูมิปัญญา : ชุมชนบ้านท่าหลวง - ชื่อปราชญ์ชาวบ้าน/กลุ่มภูมิปัญญา : วัดท่าหลวง - ความเป็นมา การสืบสานประเพณีลอยกระทง เป็นประเพณีที่ชาวไทยได้สืบทอดกันมาช้านาน และชาวท่าหลวงก็ได้มีการจัดประเพณีลอยกระทงสืบทอดมาเป็นแต่บรรพบุรุษด้วยเช่นกัน ถึงแม้ในสภาพสังคมปัจจุบันจะเป็นสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงไปมากแต่ชาวท่าหลวงยังคงอนุรักษ์การประดิษฐ์กระทงจากใบตองและวัสดุธรรมชาติที่หาได้ง่ายในพื้นที่ โดยเป็นการสืบทอดต่อเนื่องในครัวเรือน จากรุ่นสู่ รุ่น
การประดิษฐ์กระทงจากใบตอง




ร้านผู้ใหญ่ลำดวน กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาท่าหลวง ประเภท ภูมิปัญญาสังคม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านอาหาร
- ที่อยู่ที่เรียนรู้ภูมิปัญญา : 411 หมู่ที่3 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี - ชื่อปราชญ์ชาวบ้าน/กลุ่มภูมิปัญญา : นางลำดวน ทองพูล - ความเป็นมา ในอดีตการถนอมอาหารต้องเป็นการพึ่งพาธรรมชาติ ไม่มีตู้เย็น ตู้แช่ดังเช่นในปัจจุบัน การถนอมหรือการแปรรูปของสดที่มีมากในบางฤดูกาล จึงเป็นภูมิปัญญาที่มีมาช้านานในการถนอมอาหาร โดยเฉพาะในเขตอำเภอท่าหลวงซึ่งอยู่ในเขตลุ่มแม่น้ำป่าสักทำให้มีปลาน้ำจืดในพื้นที่จำนวนมากในฤดูฝน และสามารถหาปลาได้ตลอดทั้งปีมาจนถึงในปัจจุบัน การถนอมและการแปรรูปปลาสด หรือปลาน้ำจืดจึงได้กลายมาเป็นภูมิปัญญาและภูมิสังคมอีกด้านหนึ่งในวิถีชีวิตของชาวท่าหลวงจนถึงปัจจุบันได้มีการรวมตัวกันถนอมและจำหน่ายอาหารแปรรูปจากเนื้อปลา ไม่ว่าจะเป็นปลาเกลือ ปลาแดดเดียว กุลเชียง ฯลฯ ทั้งยังมีการส่งต่อภูมิความรู้นี้ต่อไปจากรุ่นสู่รุ่น และได้มีการผนวกความรู้จากผู้เชี่ยวชาญด้านอาหารเพื่อให้การผลิตถูกสุขลักษณะ และยืดอายุผลิตภัณฑ์ โดยมีเทศบาลตำบลบ้านท่าหลวงเป็นสื่อกลาง
ร้านผู้ใหญ่ลำดวน กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ปลาท่าหลวง




รำวง รำโทน ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปกรรม
- ที่อยู่ที่เรียนรู้ภูมิปัญญา : กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบ้านท่าหลวง หมู่ที่4 ตำบลท่าหลวง อำเภอท่าหลวง จังหวัดลพบุรี - ชื่อปราชญ์ชาวบ้าน/กลุ่มภูมิปัญญา : กลุ่มผู้สูงอายุเทศบาลตำบลบ้านท่าหลวง - ความเป็นมา รำโทนเป็นการละเล่นพื้นบ้านชนิดหนึ่งของชาวบ้านเมืองลพบุรี นิยมเล่นกันแพร่หลายในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๘ หรือในช่วงเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๒ หลังสงครามเลิกความนิยมเล่นรำโทนลดลงตามลำดับ ส่วนหนึ่งพัฒนาไปเป็นการละเล่น "รำวง" และ "รำวงมาตรฐาน" เหตุที่เรียกชื่อว่ารำโทน เพราะเดิมเป็นการรำประกอบจังหวะการตี "โทน" ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีหลักในการเล่น ชาวบ้านท่าหลวงยังนิยมรำวง รำโทน ในหลายโอกาส เช่น วันสงกรานต์ วันลอยกระทงหรือรำในพิธีปลงศพ (หน้าเมรุ) เนื้อเพลงที่นิยมนำมารำ ได้แก่เพลงลพบุรีของเรานี่เอ๋ย เจ็ดนาฬิกา เป็นต้น
รำวง รำโทน