ชื่อเรื่อง : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 20 ต.ค. 66
รายละเอียด : สรุปสถานการณ์น้ำภาพรวมของประเทศ วันที่ 20 ต.ค. 66 เวลา 7.00 น. + สภาพอากาศวันนี้ : จากอิทธิพลของร่องมรสุมกำลังปานกลางพาดผ่านภาคใต้ตอนบน และภาคตะวันออก ประกอบกับมรสุมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ตอนล่าง และอ่าวไทย ทำให้ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฝนตกหนักบางแห่ง คาดการณ์: ในช่วงวันที่ 20-22 ต.ค. 66 ประเทศไทยจะมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรง และมีฝนตกหนักบางแห่ง + ปริมาณน้ำรวมทั้งประเทศ ณ วันที่ 19 ต.ค. 66 น้อยกว่าปี 2565 จำนวน 6,411 ล้าน ลบ.ม. สรุปได้ดังนี้ ปริมาณน้ำทั้งประเทศ 61,519 ล้าน ลบ.ม. (75%) ปริมาณน้ำใช้การ 37,351 ล้าน ลบ.ม. (64%) + เฝ้าระวังแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เฝ้าระวังน้ำมาก 10 แห่ง ภาคเหนือ : แม่งัดสมบูรณ์ชล กิ่วลม แม่มอก และแควน้อยบำรุงแดน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ห้วยหลวง ลำปาว หนองหาร น้ำพุง และอุบลรัตน์ ภาคตะวันออก : ขุนด่านปราการชล ขอให้หน่วยงานพิจารณาบริหารจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบหรือเกิดผลกระทบน้อยที่สุดบริเวณท้ายเขื่อน และคำนึงถึงการเก็บกักน้ำสำหรับฤดูแล้งนี้ด้วย เฝ้าระวังน้ำน้อย 4 แห่ง ภาคเหนือ: สิริกิติ์ และทับเสลา ภาคตะวันออก : คลองสียัด ภาคตะวันตก: ปราณบุรี โดยขอให้หน่วยงานดำเนินการ 1) วางแผนการระบายน้ำโดยจัดลำดับความสำคัญตามที่คณะกรรมการลุ่มน้ำกำหนด 2) ประชาสัมพันธ์ และสร้างการรับรู้ให้กับเกษตรกรและขอ ความร่วมมือให้เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปีต่อเนื่อง และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำ โดยการใช้น้ำภาคการเกษตรให้ส่งเสริมการปรับเปลี่ยนการเพาะปลูกพืช เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำและเพิ่มรายได้ในพื้นที่+ สถานการณ์อุทกภัย + น้ำเพื่ออุปโภค-บริโภค แม่น้ำเจ้าพระยา ณ สถานีสูบน้ำสำแล จ.ปทุมธานี อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน น้ำเพื่อการเกษตร แม่น้ำท่าจีน แม่น้ำแม่กลอง และแม่น้ำบางปะกง อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน + สถานการณ์อุทกภัย -พื้นที่ชุมชน รวม 4 จังหวัด 19 อำเภอ 84 ตำบล 487 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 4,927 ครัวเรือน ดังนี้ - ภาคเหนือ จ.พิษณุโลก ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง - ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.กาฬสินธุ์ และอุบลราชธานี ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง จ.ร้อยเอ็ด ระดับน้ำมีแนวโน้มลดลง พื้นที่เกษตรกรรม รวม 18 จังหวัด 471,000 ไร่ ได้แก่ จ.พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ สระบุรี ลพบุรี พระนครศรีอยุธยา อ่างทอง สุพรรณบุรี นครปฐม กรุงเทพมหานคร หนองบัวลำภู ร้อยเอ็ด ขอนแก่น กาพสินธุ์ ชัยภูมิ ยโสธร อำนาจเจริญ และอุบลราชธานี + การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ปรับแผนระบายน้ำเขื่อนอุบลรัตน์ เมื่อวันพุธที่ 18 ตุลาคม 2566 ณ ห้องประชุมแก่นภูมิ 2 ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดขอนแก่น คณะกรรมการลุ่มน้ำชีได้ประชุมครั้งที่ 3/2566 มีมติให้เขื่อนอุบลรัตน์ปรับเพิ่มการระบายน้ำลงสู่ลำน้ำพอง วันละ 25 - 35 ล้าน ลบ.ม. ตามแนวโน้มสภาพอากาศและสถานการณ์น้ำเหนือน้ำและท้ายน้ำ ในการนี้ กฟผ.จึงปรับแผนระบายน้ำจาก วันละ 15 ล้าน ลบ.ม. ตั้งแต่วันที่19 ตุลาคม 2566 โดยจะทยอยปรับเพิ่มแบบขั้นบันไดวันละ 3 ล้าน ลบ.ม. จนถึงวันที่ 22 ตุลาคม 2566 ระบายน้ำวันละ 25 ล้าน ลบ.ม. ต่อเนื่องจนกว่าจะมีมติฯ เปลี่ยนแปลง จากสถานการณ์ดังกล่าว กฟผ. มีความห่วงใยต่อพี่น้องประชาชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณริมฝั่งลำน้ำพอง-ลำน้ำชี จึงขอให้เฝ้าระวังระดับน้ำที่จะเพิ่มสูงขึ้นอย่างใกล้ชิดและเตรียมความพร้อมขนย้ายสิ่งของ ทรัพย์สินขึ้นที่สูง ทั้งนี้ ท่านสามารถสอบถามข้อมูลได้ที่ 0 4344 6392 และ 06 1396 8337 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง + กรมชลประทาน ดำเนินการติดตั้งเครื่องสูบน้ำเคลื่อนที่ จำนวน 2 เครื่อง เพื่อเตรียมเร่งระบายน้ำ บริเวณ ปตร.ห้วยใหญ่ ตำบลสำราญ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังพื้นที่เพาะปลูกทางการเกษตรและพื้นที่เศรษฐกิจในตัวเมืองขอนแก่นและได้ดำเนินการนำเรือนวัตกรรมเก็บวัชพืชในคลองมหาสวัสดิ์ บริเวณประตูน้ำฉิมพลีฝั่งตะวันออก จนถึงคลองบางกอกน้อยเพื่อกำจัดวัชพืชที่กีดขวางทางน้ำ และแก้ไขความเดือดร้อนให้กับประชาชนที่สัญจรทางน้ำ และเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการระบายน้ำได้ดียิ่งขึ้น + พื้นที่เสี่ยงเฝ้าระวังน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลากในช่วง 1-3 วัน บริเวณ ภาคเหนือ จ.ตาก ภาคใต้ จ.สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส
ชื่อไฟล์ : ZxRTnvFTue113140.jpg file_download ดาว์นโหลดไฟล์นี้